near.in.th

near.in.th

Stories of productivity, leadership, and observing life.

Blogs

Productivity

Feedback ที่ดี ควรพูดตอนนี้ ไม่ใช่ตอนสิ้นปี – ศิลปะของการให้ Feedback

จำ feedback ที่ดีที่สุดที่เคยได้รับได้ไหมครับ? ไม่ว่าจะจากหัวหน้า จากเพื่อนร่วมงาน จากลูกน้อง หรือจากเพื่อนฝูงที่บางทีไม่ค่อยรู้รายละเอียดเกี่ยวกับงานที่เราทำด้วยซ้ำ ผมเองก็มี มีทั้งจากหัวหน้าของตัวเอง และจากเพื่อนร่วมงาน มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ได้รับ feedback ตรงๆ แรงๆ แล้วรู้สึกเฟลไปสามวัน อ่านข้อความนั้นซ้ำๆ แทบจะทุกชั่วโมง แคปภาพหน้าจอ feedback นั้นเก็บไว้เพื่อนอ่านเองอีก จนสามวันให้หลังผมแทบจะเปลี่ยนเป็นอีกคน ผมเอา feedback อันนั้นมาปรับปรุงการทำงาน เปลี่ยนวิธีคิด และวิธี take action กับปัญหา และทำให้งานดีและเร็วขึ้นกว่าเก่ามาก

Leadership

ทำยังไงดี เมื่ออยู่ในประชุมที่ไม่มีใครพูดอะไร

เมื่ออีกฝ่ายรู้สึกปลอดภัย คุณสามารถพูดอะไรก็ได้ คิดว่าทุกคนคงเคยอยู่ในสถานการณ์การสนทนาที่ไม่ปลอดภัยอยู่บ้าง ไม่ว่าจะบทสนทนาโดยทั่วไประหว่างเพื่อน คู่รัก ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน หรือกลางห้องประชุม ตัวอย่างเช่น เวลาประชุมที่ตึงเครียดแล้วขอความเห็น แต่ไม่มีใครพูดอะไรออกมา, เวลาปรึกษาปัญหาสำคัญกับคนในครอบครัวแล้วไม่สามารถพูดอะไรออกมาได้ตรงๆ, เวลาทะเลาะกับแฟนด้วยเรื่องบางอย่างแต่ยังเคลียร์กันไม่ได้ แต่ต้องคุยกัน เลยทำให้บทสนทนาแปลกประหลาดไป เป็นต้น ประเด็นสำคัญของการสนทนาก็คือ เมื่อรู้สึกว่าการพูดคุยกันในครั้งนี้ไม่ปลอดภัย เราเลือกที่จะไม่พูดดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอารมณ์รุนแรงที่เกิดขึ้น การประชดประชัน หรือความขุ่นข้องหมองใจอะไร จากหนังสือ Crucial Conversations (เล่มนี้ดีมาก แนะนำครับ) แนะนำวิธีตรวจสอบและแก้ไขสถานการณ์ให้หลุดออกมาจากบทสนทนาที่ไม่ปลอดภัยง่ายๆ เพื่อให้การพูดคุยกันดำเนินต่อไปตามจุดประสงค์ของที่มันควรจะเป็นได้ ขอเน้นเล็กน้อยว่า

Product Management

เลิกเป็น Feature Factory มาเป็น Evidence-driven Team ดีกว่า

ในแวดวง Tech Product Development เราคุ้นเคยกับการคิดและสร้างฟีเจอร์ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ users คนที่เป็น Product Owner ก็ไปคุยกับลูกค้า คุยกับ stakeholders คุยกับ business ค้นหามาให้ได้ว่าเราจะทำฟีเจอร์อะไรกันดี เดินมาบอกทีมด้วยความตื่นเต้นว่าเรามาทำสิ่งนี้กันเถอะ UX ก็ไปค้นหาความต้องการที่แท้จริง Data ก็ช่วยหาวิเคราะห์หาข้อมูลสนับสนุนมาให้ UI นำความต้องการมาออกแบบให้สวยงามใช้ง่าย Software Engineer รับมาเขียนโค้ดพัฒนาต่อให้สมบูรณ์ QA ช่วยตรวจสอบเสาะหาในจุดที่พลาด จบทุกกระบวนการออกมาได้เป็นหนึ่งฟีเจอร์ แล้วไงต่อ? ก็เริ่มที่

Product Management

ฟังเฉพาะคนที่ควรฟัง ด้วย Stakeholder Analysis

วันหนึ่ง ผมนั่งทานข้าวเย็นอยู่กับฝรั่งชาว Product Management อยู่ 4-5 คน ผมเปิดคำถามไปบนโต๊ะว่า คิดว่าอะไรคือสิ่งที่ยากที่สุดในการทำ Product Management? แต่ละคนก็ออกความเห็นของตัวเองกันอย่างสนุก เริ่มเล่าปัญหาที่ตัวเองเจอที่คิดว่ายากมากๆ ออกมาแล้วช่วยกัน discuss ว่ายากเพราะอะไร หนึ่งในคำตอบที่ common ที่สุดบนโต๊ะเย็นวันนั้นคือ Stakeholder Management เพราะการทำ Product ประกอบไปด้วยคนที่เกี่ยวข้องเยอะมากๆ ทั้ง end users ของตัว product เอง

User Interview

จาก Process Engineer สู่ Product Manager: ความเหมือนที่แตกต่าง

บทความนี้เขียนขึ้นครั้งแรกที่ https://blog.skooldio.com/from-process-engineer-to-product-manager/ ข้าวสวยมีเส้นทางที่เต็มไปด้วยความพยายาม ความลุ้นระทึก และความสู้ของเจ้าตัวมากๆ จากการจบ Chemical Engineering (วิศวกรรมเคมี) เริ่มต้นการทำงานแบบตรงสาย ด้วยการเป็น Process Engineer ในโรงกลั่นน้ำมัน จากนั้นก็ได้ตัดสินใจเปลี่ยนสายงานมาฝั่ง Business โดยผันตัวมาทำ Business Development จนค้นพบความชอบในการทำ Product ของตัวเอง และเริ่มต้นสมัครงานโดยที่ยังไม่มีประสบการณ์ในตำแหน่งนี้โดยตรงมาก่อน ข้าวสวยเริ่มต้นเส้นทางสู่ Product Manager อย่างไรบ้าง ไปดูกัน แนะนำตัว สวัสดีค่ะ

User Interview

คุยกับ ‘ธาม’ Chief Product Officer จาก FINNOMENA – เศรษฐศาสตร์ / Developer / Product Manager ข้ามสามสายเพื่อได้มาลงตัวที่นี่

บทความนี้เขียนขึ้นครั้งแรกที่ https://blog.skooldio.com/economist-developer-product-manager/ ผมรู้จัก ‘ธาม’ ในฐานะรุ่นน้องคนหนึ่งที่อยู่ในแวดวงเดียวกัน ก็คือ Product Management เราคุยกันหลายที เจอกันตามงานมีทอัพต่างๆ คุยทั้งเรื่อง product เรื่องงาน เรื่องการเงินการลงทุน (เพราะธามทำงานด้านนี้โดยตรง) เรื่อง Soft Skills การต้องดูแลทีม และอีกหลายเรื่อง สิ่งหนึ่งที่ผมสัมผัสได้จากธาม คือธามเป็นคนเก่ง มีแง่มุมและความรู้จากด้านต่างๆ มาเสริมอยู่เสมอ รู้เลยว่าคนนี้มีของ ขยัน และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ตลอดเวลา มีความมุมานะที่จะพิชิตอะไรสักอย่าง สักอย่างที่ว่านั่นอาจจะเป็นอะไรที่ผมไม่รู้ก็ได้

User Interview

คุยกับ ‘กี้’ จากสถาปนิกสู่โปรแกรมเมอร์ — เราจะมี passion มากกว่าหนึ่งเรื่องได้ไหม

วันหนึ่งในปี 2014 ผมเคยร่อนจดหมายสมัครงานถึงผู้กำกับภาพยนตร์มือรางวัลท่านหนึ่ง หวังจะเอาตัวเองเข้าไปสำรวจในอุตสาหกรรมที่ผมไม่คุ้นเคย แน่นอนว่าด้วยสาขาที่เรียนจบมา เป็นเรื่องยากยิ่งที่ชื่อของผมจะไปสะดุดตาผู้คนนับร้อยพันที่วิ่งนำมาพร้อมกับปริญญาบัตรที่ตรงสาย ถึงแม้ว่าผมจะผิดหวังจาก ‘การล่าฝัน’ ครั้งนั้น ผู้กำกับท่านนั้นก็ได้ส่งข้อความเตือนใจผมเสมอ It doesn’t matter if you don’t have experience. You can come from anywhere but if you’re interested, it’s a good

Life

ฝึกสกิลการคุย ด้วย Answer, Add, Ask – ทำความรู้จักเพื่อนใหม่ คุยกับคนแปลกหน้า ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

ตอนผมเรียนมัธยม มีบทเรียนภาษาอังกฤษตอนหนึ่งซึ่งสอนโดยครูต่างชาติ ที่ผมทำและจำจนติดมาเป็นนิสัยจนถึงวันนี้คือ Answer, Add, Ask เวลาเราพูดคุยกับคนอื่น บางครั้งการสร้างบทสนทนาก็เป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะกับคนที่ไม่รู้จักกันมากนัก หรืองาน networking ต่างๆ ที่เต็มไปด้วยคนใหม่ๆ ผมพบว่าการสร้างบทสนทนาอย่างง่ายที่สุด จะเริ่มด้วยการถามคำถามก่อน เช่น ทำงานอะไรอยู่ เดินทางมายังไง รู้จักกับคนนั้นคนนี้ได้ยังไง ทำไมถึงมางานวันนี้ สนใจอะไร ชอบตอนไหนมากที่สุดของงาน เคยไปเที่ยวที่นั่นมั้ย และหลังจากที่เปิดคำถามแรกไปและเค้าตอบกลับมา หรือถามคำถามกลับมา ผมพบว่าวิธีที่เรียนมาตั้งแต่มัธยมช่วยทำให้บทสนทนาลื่นไหลขึ้นมาก ด้วยสามข้อ Answer ตอบคำถามนั้น Add ให้ข้อมูลเพิ่มเติม Ask ถามกลับ แล้วก็วนไปเรื่อยๆ

Privacy Settings
We use cookies to enhance your experience while using our website. If you are using our Services via a browser you can restrict, block or remove cookies through your web browser settings. We also use content and scripts from third parties that may use tracking technologies. You can selectively provide your consent below to allow such third party embeds. For complete information about the cookies we use, data we collect and how we process them, please check our Privacy Policy
Youtube
Consent to display content from Youtube
Vimeo
Consent to display content from Vimeo
Google Maps
Consent to display content from Google
Spotify
Consent to display content from Spotify
Sound Cloud
Consent to display content from Sound
Get a Quote